ปรับปรุงล่าสุด 17 ต.ค. 2022 03:45:01 2,706

ข้อมูลสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 

ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบลหัวดอน

          องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน ยกฐานะจากสภาตำบลหัวดอนเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539  (ลำดับที่ 3436) ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 182 บ้านท่าวารี หมู่ที่ 4 ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเขื่องใน ห่างจากที่ว่าการอำเภอเขื่องใน ประมาณ  16 กิโลเมตร บนถนนแจ้งสนิท สายอุบลราชธานี - ยโสธร  (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23) และห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี  26 กิโลเมตร  

 อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ   ติดกับ ตำบลหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลท่าไหและชีทวน อำเภอเขื่องใน
ทิศตะวันออก  ติดกับ ตำบลหนองขอนและหนองบ่อ อำเภอเมือง
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลท่าไหและก่อเอ้  อำเภอเขื่องใน

 

พื้นที่ตำบล จำนวน (ไร่)
      - พื้นที่ทั้งหมด 
      - พื้นที่ทำการเกษตร 
      - พื้นที่อื่น ๆ (ที่อยู่อาศัย ถนน ห้วย หนอง คลอง บึง)
26,874
21,848
5,026

          สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นดินทรายปนร่วน ประมาณ 70% ของพื้นที่ทั้งหมดมีพื้นที่ดินเค็มประมาณ 50 ไร่ และดินเปรี้ยวเล็กน้อย พื้นที่นาเป็นนาดอนประมาณ 40% ของพื้นที่ และนาลุ่มประมาณ 60% ของพื้นที่

 

สภาพภูมิประเทศ

                    สภาพพื้นที่ทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน  มีสภาพพื้นที่  ดังนี้
          (1)  เป็นเป็นพื้นที่ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2% ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง น้อยกว่า 180 เมตร จะพบพื้นที่ที่มีกลุ่มดินไร่ เกือบทั้งหมด ประมาณ 95% เป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์ 5% ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของตำบล พื้นที่ส่วนมากใช้สำหรับในเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร โดยทำนาเป็นหลัก อ้อย มัน สำปะหลัง ข้าวโพดและพืชผลอื่นๆ ตามลำดับ ลองลงมาใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์  
           (2)  มีลำคลอง ลำห้วย หนองน้ำ สระน้ำ ฝาย บ่อบาดาล ตามพื้นที่ จำนวน 10 แห่ง สำหรับใช้ในการอุปโภค-บริโภค การเกษตร เลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอนได้ดำเนินการก่อสร้าง/ปรับปรุงซ่อมแซม  เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนกรณีภัยแล้งและน้ำท่วมให้กับประชาชน  อีกทั้งได้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ในการให้การสนับสนุน เช่น อำเภอ จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น  กรมทรัพยากรน้ำ และรัฐบาล  โดยทำการขุดลอก ขุดขยายแหล่งน้ำและก่อสร้างฝายกั้นน้ำ  วางท่อระบายน้ำ ก่อสร้างประตูปิดปิดน้ำ ปรับปรุงบ่อบาดาลเดิม เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอต่อประชาชนในพื้นที่     ซึ่งจำนวนแหล่งน้ำในพื้นที่ตำบลหัวดอน  มีดังนี้

 

กุดเวียน             
กุดปลาขาว                
ลำเซบาย               
ห้วยบ่อ               
ฝายอำนาจ                
ฝายกั้นน้ำ           
ฝายร่องคบ                
ห้วยงิ้ว              
ฝายร่องปี่             
ร่องหนองแสนพุ่ม       

มีพื้นที่ประมาณ 55 ไร่ 
มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่
ยาวประมาณ  27  กม.
มีพื้นที่ประมาณ 300 ไร่
มีพื้นที่ประมาณ 10 ไร่
ยาวประมาณ  4  กม 
มีพื้นที่ประมาณ  25 ไร่
มีพื้นที่ประมาณ  20 ไร่ 
ยาวประมาณ  2 กม
ยาวประมาณ 8.5 กม.

พื้นที่อยู่ในเขตหมู่ที่11
พื้นที่อยู่ในเขตหมู่ที่ 2
พื้นที่อยู่ในเขตหมู่ที่ 1,4,5,8,9,11
พื้นที่อยู่ในเขตหมู่ที่ 6
พื้นที่อยู่ในเขตหมู่ที่ 8
พื้นที่อยู่ในเขตหมู่ที่ 6
พื้นที่อยู่ในเขตหมู่ที่ 9
พื้นที่อยู่ในเขตหมู่ที่ 9
พื้นที่อยู่ในเขตหมู่ที่ 11
พื้นที่อยู่ในเขตหมู่ที่ 11

 สภาพภูมิอากาศ

          สภาพอากาศทั่วไปของเขตพื้นที่ตำบลหัวดอนมีความคล้ายคลึงภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทิศทางลมในแต่ละฤดู สามารถแบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ
          ฤดูร้อน  เริ่มต้นปราบเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อากาศร้อนจัดและแล้งจัดติดต่อเป็นระยะเวลานานความชื้นในอากาศมีน้อย และมีพายุฤดูร้อนเป็นบางช่วงที่มีคลื่นความร้อนปกคลุม อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 - 40 องศาเซลเซียส บางปีลมแรงทำให้บ้านเรือนราษฎร         
          ฤดูฝน  เริ่มต้นระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน  อากาศร้อนและมีพายุลมฝนฟ้าคะนองลมแรงและมีภาวะฝนทิ้งช่วงและแล้งหนักสุดในปี พ.ศ. 2562 - 2563 ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก เกือบจะเข้าขั้นวิกฤติเนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน มีปริมาณน้ำฝนน้อยมาก  ทำให้ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ตายไปเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าว พื้นที่แห้งแล้ง น้ำในลำห้วย หนอง คลอง บึง    สระแห้งเป็นประวัติการณ์  ประชาชนในตำบลได้รับความเดือนร้อนเป็นอย่างมาก อาจจะไม่มีน้ำใช้ในการอุปโภค  - บริโภค  การเกษตรและเลี้ยงสัตว์  ประกอบกับแหล่งน้ำที่มีตื้นเขินไม่สามารถกักเก็บน้ำในปริมาณที่เพียงพอสำหรับใช้ได้ตลอดปี และยังได้ดำเนินโครงการและขอรับการสนับสนุนจากทางอำเภอ จังหวัด ในการขุดลอกสระ ลำห้วย เพื่อสามารถมีพื้นที่กักเก็บในช่วงฤดูฝนได้มากขึ้น  
           ฤดูหนาว  เริ่มต้นระหว่างเดือนตุลาคม- กุมาภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 8 องศาเซลเซียส แต่ยังไม่ได้ถูกประกาศเป็นพื้นที่เขตภัยพิบัติ  เป็นอากาศหนาวตามฤดูกาล

ข้อมูลพื้นฐาน

เขตการปกครอง

จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน  มีจำนวน  11  หมู่บ้าน  ได้แก่

1. บ้านหัวดอน หมู่ที่ 1,2
2. บ้านหัวดูน หมูที่ 3
3. บ้านท่าวารี หมู่ที่ 4 
4. บ้านแขม  หมู่ที่ 5,11
5. บ้านเสียม  หมู่ที่ 6,7,10
6. บ้านวังถ้ำ  หมู่ที่ 8
7. บ้านวังอ้อ  หมู่ที่ 9

ชื่อผู้ปกครองหมู่บ้านและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
1 บ้านหัวดอน นายเชวง    ทุมมี นายทองใส  เยื่อใย
2 บ้านหัวดอน นายพรชัย  ภาชนะพูล นายสมปอง  ตระการไทย
3 บ้านหัวดูน นายชินนิกร  ธานี นายสมัย  วันทา
4 บ้านท่าวารี นายประมาณ  ผลาวงค์ นายยุทธนา  พยัฆทา
5 บ้านแขม นายสุนทร  ขันชะลี นายมงคล  จิตทวี
6 บ้านเสียม นายสวัสดิ์  บุญประจง 
(กำนันตำบลหัวดอน)
นางลันดร  บุญสุข
(ประธานสภาฯ)
7 บ้านเสียม นายเสรี  ทองชุม นางสาคร  สุขผล
8 บ้านวังถ้ำ นางนวลละออง  ศรีบุษยาสิทธิ์ นายสำเนียง  เพชรพินิจ
9 บ้านวังอ้อ นายสัญญา  กอมณี นายสมเกียรติ  ศรีสมุทร
10 บ้านเสียม นายอุบล  กิจทวี นายพิระยุทธ  อินสมนึก
11 บ้านแขม นายสมศักดิ์  ขันชะลี นางสาวดารัตน์  กอมณี 
(รองประธานสภาฯ)

 

จำนวนครัวเรือนและประชากร

หมู่ที่ บ้าน ณ กรกฎาคม 2565
ครัวเรือน ประชากร
ชาย หญิง รวม
1 หัวดอน 141 224 216 440
2 หัวดอน 119 207 196 403
3 หัวดูน 126 260 261 521
4 ท่าวารี 229 352 406 758
5 แขม 202 329 357 686
6 เสียม 236 320 340 660
7 เสียม 207 308 358 666
8 วังถ้ำ 62 102 118 220
9 วังอ้อ 290 510 481 991
10 เสียม 233 348 378 726
11 แขม 201 276 311 587
รวม 2,046 3,236 3,422 6,658

 

สาธารณสุข
        จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชาชนในชุมชน เช่นกัน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่น ๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี การแก้ไขปัญหา คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอนและหน่วยงานสาธารณสุข ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

ลำดับที่ ชื่อองค์กร จำนวนบุคลากร หมายเหตุ
ปี 2563 ปี 2564
1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แขม 11 11 หมู่ที่ 5,6,7,8,9,10,11    
2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หัวดอน  7 7 หมู่ที่ 1,2,3,4
3 คลินิกเอกชน หมู่ 6 2 2 2 แห่ง
4 คลินิกเอกชน หมู่ 10 2 2 1 แห่ง
รวม 22 22  


เศรษฐกิจ
    การเกษตร
     - พื้นที่ทำการเกษตร ทั้งหมด 21,848 ไร่  ประกอบด้วย

ทำนา  14,102   ไร่  คิดเป็นร้อยละ 64.55
ทำสวนปลูกไม้ผล – ไม้ยืนต้น 3,447     ไร่  คิดเป็นร้อยละ 15.78
พืชไร่ 3,736     ไร่  คิดเป็นร้อยละ 17.10
สวนปลูกพืชผัก  563 คิดเป็นร้อยละ 2.58

     - ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าว มีข้าวจ้าวนาปี พันธุ์ที่นิยมปลูก ขาวดอกมะลิ 105 พื้นที่ 8,579 ไร่ ห,กข.15 ร้อยละ 57 ข้าวเหนียวนาปี พันธุ์ที่นิยมปลูก กข.6 ร้อยละ 40 พื้นที่ 5,386 ไร่ ผลผลิต 453 กก./ไร่ ต้นทุนการผลิต 1,755 ไร่ รายได้เฉลี่ย 3,171 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 1,416 กก./ไร่ และข้าวพันธุ์พื้นเมือง ร้อยละ 3 พื้นที่ 137 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 470 กก./ไร่

การบริการ
    การให้บริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน จะเป็นลักษณะสถานบริการประเภท ที่พักรายวัน/รายเดือน  รีสอร์ทหรือสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
     - ที่พัก/รีสอร์ท จำนวน 5 แห่ง จำนวน    48  ห้อง  ได้แก่

1. จันทร์งามรีสอร์ท จำนวน 11 ห้อง
2. ชนัญญา จำนวน 20 ห้อง
3. บัวผิน จำนวน 5 ห้อง
4. เสียมทองรีสอร์ท โฮมสเตย์ จำนวน 7 ห้อง
5. โมไนย แสงงาม จำนวน 5 ห้อง

 

การท่องเที่ยว
    มีเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สัญจรไปมาได้สะดวกเหมาะสำหรับที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งธุรกิจค้าขาย  มีศูนย์พัฒนาคุณธรรมป่าดงใหญ่ซึ่งตั้งอยู่บ้านวังอ้อ หมู่ที่ 9 ต.หัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงของตำบล มีบุคคลเข้ามาดูงานเป็นจำนวนมากและยังใช้เป็นที่ฝึกอบรมจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เป็นแหล่งบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด และเป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนโดยทั่วไปและเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจหรือสถานที่ท่องเที่ยวต่อไป  พื้นที่ติดกับลำเซบาย มีคลองระบายน้ำซึ่งสามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับราษฎร สินค้าที่มีชื่อเสียงคือมะพร้าวเผาบ้านท่าวารีและมีประเพณีที่สำคัญและมีชื่อเสียงคือประเพณีการแข่งขันเรือยาวบ้านท่าวารี ซึ่งทำการแข่งขันเป็นประจำทุกปี

อุตสาหกรรม
โรงงานในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน มีจำนวน 9  แห่ง ได้แก่

1. บจก.พรูเด็นเซียล แอมพรี (ไทยแลนด์) ที่ตั้ง บ้านแขม หมู่ที่ 5
2. โรงงานกระเบื้องเคลือบเจริญสิน ที่ตั้ง บ้านเสียม หมู่ที่ 6
3. โรงงานขุนทองรุ่งเรือง (รถเข็น) ที่ตั้ง บ้านท่าวารี หมู่ที่ 4
4. โรงงานกิจทวีสิน (โรงงานพลาสติก) ที่ตั้ง บ้านท่าวารี หมู่ที่ 4
5. บริษัท ธรรมสรณ์ จำกัด   ที่ตั้ง บ้านเสียม หมู่ที่ 10
6. โรงงานกระเบื้องรุ่งเรือง ที่ตั้ง บ้านเสียม หมู่ที่ 7
7. โรงเลื่อย อนันต์ ที่ตั้ง บ้านท่าวารี หมู่ที่ 4
8. โรงงานน้ำแข็ง/น้ำดื่มพรชัย ที่ตั้ง บ้านท่าวารี หมู่ที่ 4
9. กลุ่มน้ำดื่ม วังอ้อ ม.9 ที่ตั้ง บ้านวังอ้อ หมู่ที่ 9


ประเพณี วัฒนธรรม
    ประเพณีประจำถิ่น ได้แก่
            1. ประเพณีบุญเผวส
            2. ประเพณีบุญลอมข้าว
            3. ประเพณีบุญบั้งไฟ
            4. ประเพณีแข่งเรือยาวท่าวารี
 - มีขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อคล้ายๆ กับตำบลอื่น ๆ ในภาคอีสานซึ่งถือว่ามีบุญประเพณีประจำ 12 เดือน คือ

- เดือนอ้าย  บุญเข้ากรรม - เดือนยี่  บุญคูณลาน
- เดือนสาม  บุญข้าวจี่ - เดือนสี่  บุญเผวส (มหาชาติ)
- เดือนห้า  บุญสงกรานต์  - เดือนหก  บุญบั้งไฟ
- เดือนเจ็ด  บุญเบิกบ้าน (ซำฮะ) - เดือนแปด  บุญเข้าพรรษา
- เดือนเก้า  บุญข้าวประดับดิน - เดือนสิบ  บุญข้าวสาก
- เดือนสิบเอ็ด  บุญออกพรรษา - เดือนสิบสอง  บุญกฐิน


ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
        ชาวบ้านตำบลหัวดอนส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม เช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนาข้าวเหนียว นอกจากนั้นประกอบอาชีพปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลังปอ และเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้แรงงาน ตลอดจนเลี้ยงไว้บริโภค อาชีพเหล่านี้ต้องพึ่งดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวย จึงจะส่งผลดี แต่สภาพภูมิประเทศภาคนี้เป็นที่ราบแบบลูกคลื่น พื้นดินเป็นดินปนทรายน้ำซึมได้ง่าย จึงทำให้บริเวณแถบนี้แห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก และบริโภค ทำให้เศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำกว่าภาคอื่น ๆ ของประเทศ
        สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่น  อย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ปลาแมลงบางชนิด พืชผักต่าง ๆ การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนาน ๆ จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหารได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่นกบ เขียด แย้ แมลงต่าง ๆ
        บั้งไฟถือเป็นคติความเชื่อทางสังคมของชาวอุดรธานีและภาคอีสานทั่วไปที่วิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ เนื่องจากชาวบ้านต้องทำการกสิกรรมเลี้ยงชีพเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องการน้ำจากธรรมชาติเพื่อเพาะปลูกพืชผลของตนเองจึงได้มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า เทพเจ้าที่ประทานน้ำให้แก่มนุษย์คือ "แถน"บุญบั้งไฟ เป็นความเชื่อของคนอีสานในการขอฝนสืบต่อมา จากเรื่องพญาคันคาก ผู้รบชนะพญาแถนและขอให้แถนบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พญาแถนจึงบอกให้พญาคันคาก ว่าต้องการฝนเมื่อใด ให้ส่งสัญญาณไปบอกด้วยการจุดบั้งไฟขึ้นฟ้าไป พญาแถนก็จะสั่งฝนลงมาให้ เมื่อถึงฤดูทำนาก็จะขอฝนมาทำนา ก็ส่งสัญญาณบอกแถนด้วยการจุดบั้งไฟการจุดบั้งไฟจะทำกันในเดือนหก และจะทำหลังจากที่ทำพิธีเลี้ยงบ้านไปแล้ว
        บุญบั้งไฟถือเป็นสาระของความสนุกสนานที่แฝงไว้ด้วยความเชื่อถือศรัทธาที่มีมาอย่างยาวนาน กิจกรรมทั้งหมดของประเพณีนี้ได้ถ่ายทอดความรู้สึก ภูมิปัญญาของชุมชนในเรื่องเทคโนโลยีพื้นบ้าน การเลือกไม้ไผ่มาทำบั้งไฟ การตัดไม้ไผ่โดยไม่เป็นอันตราย การบรรจุดินปืนลงกระบอกไม้ไผ่ ล้วนเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมสืบกันมา การตกแต่งบั้งไฟเป็นงานศิลปะ การเซิ้ง การรับลำ ความเชื่อในผีแถนและมีภาษาอีสาน  เป็นภาษาถิ่น